Sunday, February 19, 2012

การแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างมหาอำนาจในสงครามเย็น

   การแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างมหาอำนาจในสงครามเย็น


โลกยุคสงครามเย็น ( The Cold War )


          เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้นลง ดินแดนเกือบทุกแห่งโดยเฉพาะในยุโรปเสียหายจากการสู้รบทั้งภาคพื้นดินและการทิ้งระเบิดของคู่สงคราม ผู้คนเสียชีวิตทั่วโลกกว่า 50 ล้านคน ผู้อพยพไม่มีที่อยู่อาศัยกว่า 25 ล้านคน ในยุโรปตะวันออกและเยอรมนีมีประชาชนกว่า 15 ล้านคนถูกขับออกจากประเทศต่าง ๆ  
            ทุกข์ยากของประชาชนนอกจากการเสียชีวิต พลัดพรากครอบครัวและไม่มีที่อยู่อาศัยแล้ว ปัญหาที่สำคัญคือ การไม่มีงานทำ และปัญหาการเก็บเกี่ยวพืชผลเกษตรไม่ได้ผล ในยุโรปสามารถเก็บผลผลิตการเกษตรได้เพียงครึ่งเดียวของผลผลิตในช่วงก่อนสงคราม(ค.ศ.1939)


            หลังสงครามโลกครั้งที่สองมหาอำนาจที่ยังคงมีพลังทางทหารและเศรษฐกิจมั่นคงกว่าชาติอื่นๆ คือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต  แม้สหรัฐจะเสียกำลังพลไปจำนวนมากโดยเฉพาะในการรบภาคพื้นแปซิฟิค ดินแดนในสหรัฐฯไม่ได้เป็นสมรภูมิ ยกเว้นฮาวาย หลังสงครามโลกสิ้นสุด สหรัฐจึงมีฐานะเป็นผู้นำสัมพันธมิตรอีกสองชาติ คือ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ในการยึดครองเยอรมนีตะวันตก  ส่วนสหภาพโซเวียตแม้จะเสียหายจากการบุกของเยอรมนีแต่ก็สามารถโจมตีรุกไล่กองทัพเยอรมนีออกไปได้ ทั้งยังสามารถเข้าไปยึดครองเยอรมนีตะวันออก เมื่อได้ปลดปล่อยประเทศในยุโรปตะวันออกจากการยึดครองของกองทัพเยอรมนีแล้ว  กองทัพสหภาพโซเวียตก็ถือโอกาสตั้งทัพและหาประโยชน์ในประเทศเหล่านั้นแม้สงครามโลกยุติลงแล้วก็ตาม

  แผนที่ยุโรปตะวันออกในยุคสงครามเย็น
 
 
                                 แผนที่ยุโรปตะวันออกหลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลาย



แผนที่การแบ่งเยอรมนีโดยสัมพันธมิตรและสหภาพโซเวียต
  
           การแบ่งเขตยึดครองทั้งในเยอรมนี เบอร์ลินและการสร้างกลุ่มพันมิตรในยุโรปหลังสงครามโลก จึงนำไปสู่การประจัญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศทุนนิยมปกครองแบบประชาธิปไตย ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นเผด็จการสังคมนิยมปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์  ระหว่างค.ศ. 1945 – 1949  ทั้งสองฝ่าย จึงต่างแสดงออกถึงความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน  นำไปสู่การสร้างกลุ่มพันธมิตรทหารและการกีดกันทางเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยไม่มีการรบระหว่างมหาอำนาจทั้งสองโดยตรง  หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา จึงเป็นยุคแห่งสงครามเย็น




การสร้างเขตอิทธิพลประจัญหน้าระหว่างมหาอำนาจ           

ประธานาธิบดีเฮนรี ทรูแมนแห่งสหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงการคุกคามของคอมมิวนิสต์ใน บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เมื่ออังกฤษถอนตัวจากการยึดครองดินแดนแถบนี้ และเป็นไปได้มากที่สหภาพโซเวียตจะเข้ามาแทรกแซงแทน จึงเป็นที่มาของคำประกาศทรูแมน ( The Truman Doctrine )ซึ่งให้ความช่วยเหลือกรีซ ในค.ศ. 1947  ในกรณีที่ถูกคุกคามจากคอมมิวนิสต์ แสดงเจตนารมณ์สกัดกั้นอิทธิพลของสหภาพโซเวียตนอกเขตยุโรปตะวันออก  ต่อมาสหรัฐอเมริกาได้ประกาศแผนการมาร์แชล เสนอให้เงินช่วยเหลือประเทศต่างๆ ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยจะให้กับประเทศยุโรปตะวันออกด้วยแต่สหภาพโซเวียตคัดค้าน และกล่าวหาว่าสหรัอเมริกาใช้เงินซื้อประเทศเหล่านั้น  ต่อมาสหภาพโซเวียตจึงประกาศตั้ง The Council for Mutual Economic Assistance  หรือ โคมินคอน (COMINCON)  สำหรับให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศในยุโรปตะวันออก แต่ไม่มีประสิทธิภาพนักเพราะมีเงินทุนไม่มากนัก

            NATO – WARSAW PACT

The North Atlantic Treaty Organization เป็นองค์การความร่วมมือทางทหาร ตั้งขึ้นในเดือนเมษยน ค.ศ. 1949 ประเทศสมาชิกได้แก่ เบลเยียม ลักเซมเบอร์ก ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ อิตาลี เดนมาร์ค นอร์เวย์ โปรตุเกส ไอซ์แลนด์  ทุกประเทศลงนามในสนธิสัญญาป้องกันตนเองร่วมกันกับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เพื่อรับประกันว่าถ้าประเทศใดถูกรุกราน ประเทศที่เหลือจะเข้าช่วยเหลือในปีต่อมาเยอรมนีตะวันตก เตอร์กีและกรีซได้เข้าร่วมด้วย

ในค.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตได้ตั้งองค์การ Warsaw Pact  เป็นการตอบโต้โดยรวมกลุ่มพันธมิตรทางทหาร ประเทศสมาชิกอยู่ในยุโรปตะวันออก ได้แก่ สหภาพโซเวียต อัลบาเนีย บัลกาเรีย เช็คโกสโลวาเกีย เยอรมนีตะวันออก ฮังการี โปแลนด์ โรมาเนีย
            การรวมกลุ่มNATO และ WARSAW PACTทำให้ยุโรปกลับสู่การแบ่งแยกเป็นสองกลุ่มเช่นเดียวกับก่อนสงครามโลกอีกครั้ง

สงครามเกาหลี
            การขยายอำนาจของทั้งสองฝ่ายนำไปสู่การปะทะกันทางทหารในสงครามเกาหลี โดยเกาหลีเหนือโดยสหภาพโซเวียตสนับสนุนกำลังอาวุธ บุกเข้าโจมตีเกาหลีใต้ ทำใหสหรัฐกังวลต่อการคุกคามของคอมมิวนิสต์มากขึ้น จึงเพิ่มความร่วมมือทางทหารกับประเทศพันธมิตรทั่วโลก ในภูมิภาคต่าง ๆจึงมีการรวมกลุ่มทางทหารในส่วนต่าง ๆของโลก ได้แก่  
SEATO ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ปากีสถาน ประเทศไทย ฟิลลิปปินส์ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์   
CENTO ประกอบด้วย ตุรกี อิหร่าน อิรัค ปากีสถาน อังกฤษและสหรัฐอเมริกา


  หลักการทรูแมน (Truman  Doctrine)

ประธานนาธิบดี Henry   Trueman 
                        หลักการทรูแมนเป็นการแถลงการณ์ของประธานาธิบดีทรูแมน  ที่แสดงการต่อต้านพฤติกรรมของสหภาพโซเวียตอย่างเปิดเผยในลักษณะที่พร้อมจะเผชิญหน้า  และถือว่าเป็นการประกาศสงครามเย็นอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกา  ดังแถลงการณ์ว่า“นโยบายหลักข้อหนึ่งของสหรัฐอเมริกา คือ  การสร้างสภาวะที่จะทำให้เราและชาติสามารถดำเนินชีวิตให้เป็นอิสระจากการใช้กำลังบังคับ”    “ข้าพเจ้าเชื่อว่านโยบายของสหรัฐอเมริกาสนับ  สนุนเสรีชนที่กำลังต่อต้านความพยายามครอบงำ โดยชน    กลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่ติดอาวุธหรือแรงกดดันจากภายนอก

เขียงร่างหลักการทรูแมน



 ประธานาธิบดี Henry  Trueman  ประกาศหลักการทรูแมน










แผนการมาร์แชล (Marshall Plan) 












Poster mit Segelschiff und ERP (European Reconstruction



                 






ในโอกาสวันประสาทปริญญาของนักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1947 ยอร์ช ซี.มาร์แชล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ สมัยนั้น ได้กล่าวอยู่ตอนหนึ่งในสุนทรพจน์ว่า “สหรัฐ อเมริกาควรจะทำทุกอย่างเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เพื่อช่วยให้ดินแดนต่าง ๆ ในโลกได้กลับคืนสู่ภาวะปกติทางเศรษฐกิจ เพราะหากปราศจากภาวะดังกล่าว โลกก็จะไม่มีเสถียรภาพที่สถาพ นโยบายของสหรัฐฯ มิได้มุ่งจะเป็นปฏิปักษ์ต่อประเทศใดหรือลัทธิใด หากมุ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อความหิวโหย ความยากจน ความสิ้นหวัง และความยุ่งเหยิง การที่จะให้สหรัฐอเมริการับภาระในการจัดวางโครงการแต่ฝ่ายเดียว เพื่อช่วยให้ทวีปยุโรปสามารถช่วยตนเองทางเศรษฐกิจขึ้นใหม่ นับว่ายังไม่เหมาะสมและถูกต้องนัก ควรจะให้เป็นภาระหน้าที่ของชนชาวยุโรปทั้งหลายเอง บทบาทของสหรัฐฯ ควรจะเป็นเพียงผู้เสนอให้ความความช่วยเหลือฉันมิตร ในการร่างโครงการช่วยเหลือทวีปยุโรป และให้ความสนับสนุนแก่โครงการนั้น ตราบที่โอกาสจะเอื้ออำนวยต่อการกระทำเช่นนั้นได้ ” จากสุนทรพจน์ข้างต้น พอจะเข้าใจจุดประสงค์สำคัญของสหรัฐอเมริกาได้ว่า อเมริกาไม่ต้องการให้ทวีปยุโรป ซึ่งกำลังอ่อนแอโดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจหลังจากเสร็จสงครามใหม่ ๆ ต้องตกไปอยู่ใต้อำนาจครอบงำของฝ่ายคอมมิวนิสต์นั่นเอง   แผนมาร์แชล (Marshall Plan) นี้ นอกจากจะให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจยุโรปที่ตกต่ำให้เข้มแข็ง แล้วยังสามารถรักษาสถาบันการเมืองและสังคมให้มั่นคงและมีอิสระไม่ถูกคุกคาม จากประเทศคอมมิวนิสต์และยังเป็นการขยายตลาดการค้าของสหรัฐให้กว้างขวางขึ้น อีกด้วย    ภายใต้ "แผนการมาร์แชล" ที่ทรูแมนคิดขึ้นเมื่อปี 2490 หลักการบอกมุ่งช่วยเหลือทางเศรษฐกิจให้ยุโรปฟื้นตัวจากความบอบช้ำ แต่ในทางปฏิบัติคือ หยุดยั้ง "ภัยแดง" อิทธิพลลัทธิคอมมิวนิสต์    อเมริกันจะให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจแก่มิตรประเทศ (ประเด็นนี้อเมริกันอยากใช้เป็นการฉีดวัคซีนป้องกันคอมมิวนิสต์ และเป็นเครื่องมือสร้างความพึ่งพาในทางเศรษฐกิจ) 


ธัญพืชสำหรับแผนการมาร์แชล


แผนการมาร์แชล (1948)


 แป้งสำหรับแผนการมาร์แชล


Proposed by Secretary of State George C. Marshall to help economies

แผนการมาร์แชลส่งเงินมากกว่า 130 ล้านดอลล่า  ไปยังยุโรปตะวันตก



The Marshall Plan The Intra European Poster Competition 





การสร้างกำแพงแบ่งแยกเบอร์ลิน 



ภาพแผนที่ของกำแพงเบอร์ลิน










              ช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ไม่นาน ทหารของฝ่ายเยอรมันตะวันออกได้เริ่มวางลวดหนามและก่อสร้างกำแพงด้วยอิฐคอนกรีตแบ่งแยกเมืองเบอร์ลิน (Berlin) ระหว่างเบอร์ลินตะวันออกที่ควบคุมโดยโซเวียต และฝ่ายตะวันตกที่เป็นส่วนเสรีประชาธิปไตยของเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (World War II) เยอรมันเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และถูกแบ่งแยกออกเป็นเขตภายใต้การปกครองของ 4 ประเทศ คือ โซเวียต (Soviet), อเมริกัน (American), อังกฤษ (British) และฝรั่งเศส (French) โดยบริเวณแล้วเมืองเบอร์ลินในทางเทคนิคเป็นเขตอยู่ภายใต้โซเวียต เป็นส่วนที่ตั้งอยู่ในเยอรมันตะวันออก แต่ถูกแบ่งแยก โดยโซเวียตได้ปกครองส่วนเบอร์ลินตะวันออก แต่หลังจากฝ่ายสัมพันธมิตรได้มีการบินเพื่อโดนย้ายคนจำนวนมหาศาลออกจากเมือง เบอร์ลินในช่วงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1948 โซเวียตเริ่มมีความพยายามปิดล้อมเบอร์ลินตะวันตก ส่วนเบอร์ลินตะวันออกเองก็กลายเป็นส่วนของโซเวียตอย่างเข้มงวด

              หลังจากนั้น 12 ปี ได้มีการตัดแยกส่วนของตะวันตก เยอรมันตะวันออกกลายเป็นส่วนบริวารของโซเวียต ฝ่ายประชาชนเยอรมันตะวันออกระหว่าง 2.5 ถึง 3 ล้านคนได้มุ่งหน้าสู่เยอรมันตะวันตกเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า ในช่วงปี ค.ศ. 1961 ในแต่ละวัน ชาวเยอรมันตะวันออกประมาณ 1,000 คน ได้อพยพเข้าสู่เยอรมันตะวันตก คนเหล่านี้เป็นพวกแรงงานมีฝีมือ นักวิชาชีพ และปัญญาชน

ภาพ กำแพงเบอร์ลิน ความสูงกว่า 3 เมตร รอบเขตเบอร์ลินตะวันตก ความยาว 93 ไมล์ 

            ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1961 Walter Ulbricht ผู้นำคอมมิวนิสต์ของเยอรมันตะวันออกได้รับอนุญาตจาก Nikita Khrushchev นายกรัฐมนตรีของสหภาพโซเวียต ให้ปิดกั้นเมืองระหว่างเขตเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก ทหารได้ทำงานในช่วงกลางคืนระหว่างวันที่ 12-13 โดยวางลวดหนามในเขตที่มีความยาวกว่า 100 ไมล์ในเขตที่เข้ามาในส่วนตะวันออกเล็กน้อย หลังจากนั้นไม่นานได้มีการก่อสร้างกำแพงที่มีความสูง 6 ฟุตแทน โดยทำเป็นอิฐคอนกรีตมีความยาวของกำแพง 96 ไมล์ มีหอคอยเป็นช่วงๆโดยมีทหารยามเฝ้า พร้อมด้วยปืนกลและไฟส่องสว่าง ฝ่ายเยอรมันตะวันออกมีเจ้าหน้าที่ๆรู้จักกันในชื่อ Volkspolizei ("Volpos") เดินยามในบริเวณกำแพงเบอร์ลิน (Berlin Wall) ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน
          ชาวเบอร์ลินหลายคนได้เห็นตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นหลัง 12 สิงหาคม ค.ศ. 1961 ที่เขาได้ถูกตัดขาดจากเพื่อน สมาชิกในครอบครัวที่ได้กลายไปอยู่ในอีกซีกหนึ่งของเมือง เริ่มต้นด้วยการนำของนายกเทศมนตรีเมือง Willi Brandt ได้นำประชาชนชาวเบอร์ลินตะวันตกเดินขบวนแสดงการต่อต้านกำแพงเบอร์ลินนี้ และ Brandt ได้วิจารณ์ประชาธิปไตยฝ่ายตะวันตกโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่ไม่สามารถยับยั้งการคุกคามของโซเวียตได้
          ในช่วงแรกประธานาธิบดี John F. Kennedy สหรัฐประกาศต่อสาธารณะว่าจะช่วยชาวเบอร์ลินตะวันตกและเยอรมันตะวันตก และการกระทำของฝ่ายเยอรมันตะวันออกจะไม่ประสบความสำเร็จ
กำแพงเบอร์ลินเป็นสัญลักษณ์กร้าวของสงครามเย็น (Cold War) ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1963 Kennedy ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่มีชื่อเสียงของเขาต่อหน้ากำแพงเบอร์ลิน ว่า ข้าพเจ้าคือชาวเบอร์ลินหรือ "Ich bin ein Berliner" ("I am a Berliner") เป็นการฉลองเมืองที่เป็นสัญลักษณ์ของเสรีภาพและประชาธิปไตยในการต่อต้านทรราชย์และการกดขี่ ในปี ค.ศ. 1970 กำแพงได้ถูกสร้างเสริมให้มีความสูง 10 ฟุต เพื่อหยุดความพยายามผู้คนที่หนีสู่ฝั่งตะวันตกซึ่งเกิดขึ้นเกือบทุกวัน


West Berlin on Aug. 13, 1961, วันที่กำแพงเบอร์ลินถูกสร้างขึ้น

          ในช่วงปี ค.ศ. 1961 ถึงปี 1989 มีชาวเบอร์ลินกว่า 5,000 ราย ได้หลบหนี บางส่วนได้พยายามแต่ไม่สำเร็จ บางส่วนถูกยิงเสียชีวิตขณะพยายามหลบหนี ซึ่งทำให้โลกตะวันตกยิ่งเกลียดชังกำแพงเบอร์ลินยิ่งขึ้น

ภาพการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน 

ภาพการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน 

ภาพช่างกำลังก่อกำแพง

กำแพงเบอร์ลินใน Kreutzberg ต้นยุค 60

 กำแพงเบอร์ลินหลังการสร้าง
กำแพงเบอร์ลิน








          ในที่สุดในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980s เยอรมันตะวันออก โดยสภาพของความเสื่อมถอยของสหภาพโซเวียต ได้เริ่มเปิดเสรีให้มีการปฏิรูป ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ชาว เบอร์ลินทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกได้แห่กันไปชุมนุมที่บริเวณกำแพง เบอร์ลิน ได้ปีนกำแพง และทุบทำลายกำแพงนั้นเสีย ในฐานะที่มันเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นและการกดขี่ ฝ่ายเยอรมันตะวันออกและตะวันตกได้กลับมารวมเป็นชาติหนึ่งเดียวอีกครั้ง และได้ลงนามรวมชาติ (Treaty of Unification) ในวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990

 ช่วงเวลาแห่งอิสระภาพ



องค์การโคมินฟอร์ม อง์การโคมินเทอร์น

ภาพสัญลักษณ์ขององค์การโคมินฟอร์ม

          สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยการประกาศหลักการทรูแมน ในเดือน มีนาคม ค.ศ.1947 ซึ่งมีสาระสำคัญว่าสหรัฐอเมริกาจะได้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งภายนอกและภายในประเทศ รัฐสภาอนุมัติเงินและให้ความช่วยเหลือตุรกีและกรีกให้รอดพ้นจากเงื้อมมือลัทธิคอมมิวนิสต์ ในปีเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตั้งสำนักงานข่าวคอมมิวนิสต์ (Cominform) ขึ้นที่กรุงเบลเกรด ทำหน้าที่เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และเป็นเครื่องมือของสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันมิให้โลกเสรีเข้าแทรกแซงในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก เป็นการตอบโต้หลักการทรูแมน การประกาศหลักการทรูแมนของสหรัฐอเมริกาถือว่าเป็นการเริ่มต้นอย่างแท้จริงของสงครามเย็นระหว่างสองอภิมหาอำนาจ

โปสเตอร์ขององค์การโคมินเทอร์น


          







          สหรัฐอเมริกาพยายามกอบกู้และฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปเป็นเป้าหมายต่อไปโดยการเสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ทุกประเทศในยุโรป ตามแผนการณ์มาร์แชล ซึ่งแผนการนี้มีระยะเวลา 4 ปี ด้วยงบประมาณ 13,500 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐอเมริกาในรูปของเงินทุน วัตถุดิบ อาหารและเครื่องจักรกล ส่วนประเทศในยุโรปตะวันออกถูกสหภาพโซเวียตกดดันให้ปฏิเสธข้อเสนอของอเมริกา โดยสหภาพโซเวียตและกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกได้ร่วมมือกันจัดตั้งสภาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจหรือโคมีคอน (Comecon)ด้วยเหตุนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปจึงแยกเป็น 2 แนวทางตั้งแต่นั้นมา




แบบร่างของหลักการทรูแมน










          สหรัฐอเมริกาได้ประกาศวาทะทรูแมน (Trueman  Doctrine)ในค.ศ 1947 มีสาระสำคัญว่า ...สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ แล้วแต่สหรัฐจะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่ ....จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่กรีซและตุรกีเป็นตัวอย่าง สืบเนื่องมาจากสหภาพโซเวียตเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และแทรกแซงให้ความช่วยเหลือกบฎในตุรกีและกรีกเพื่อจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์  การประกาศวาทะทรูแมนจึงเป็นจุดเริ่มต้นสงครามเย็นที่แท้จริง ต่อมาสหรัฐได้ประกาศแผนการมาร์แชล(Marshall  Plan) เพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับยุโรปตะวันตก    ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการจัดตั้ง องค์การโคมินฟอร์ม ( Cominform ) ใน ค.ศ. 1947    เพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ประเทศต่าง ๆ และสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ต่อมาได้ซึ่งพัฒนามาเป็นองค์การโคมินเทอร์น (Comintern)




สภาโคมมินเทอร์น


สภาโคมมินเทอร์น




ภาพสัญลักษณืขององการ์โคมมินเทอร์น

ภาพโปสเตอร์

โคมินเทอร์นในมองโกเลีย

ภาพโปสเตอร์


การเดินขบวนต้อนรับโคมินเทอร์น



สนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact)


ภาพประเทศที่เข้าร่วมสนธิสัญญาวอร์ซอ

สนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นโดย สหภาพโซเวียต จัดตั้งขึ้น ในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1955 ช่วงสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1991) โดยมีสมาชิกทั้งหมด 8 ประเทศ ประกอบไปด้วย
 1.               สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต
2.               สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก)
3.               สาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์
4.               สาธารณรัฐสังคมนิยมเชคโกสโลวเกีย
5.               สาธารณรัฐประชาชนบัลแกเรีย
6.               สาธารณรัฐประชาชนอัลบาเนีย
7.               สาธารณรัฐประชาชนฮังการี
8.               สาธารณรัฐสังคมนิยมโรมาเนีย
 เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต้ โดย โจเซฟ สตาลิน ผู้นำโซเวียตในขณะนั้น ได้กล่าวว่า นาโต้มิได้จัดตั้งมาเพื่อป้องกันสงคราม แต่เพื่อเตรียมก่อการสงครามขึ้นใหม่”  โดยการโจมตีสมาชิกรัฐใดรัฐหนึ่ง จะถือว่าเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งหมด ซึ่งหมายถึงว่า หากประเทศใดโดนโจมตี สมาชิกอีก 7 ประเทศ ก็จะเข้าร่วมสงครามด้วย
            สนธิสัญญาวอร์ซอ ได้ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 ปีเดียวกับการล่มสลายของ สหภาพโซเวียต




องค์การนาโต






          องค์การนาโต  มีชื่อเต็มว่า  "องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ" (North Atlantic Treaty Organzation : NATO) เป็นองค์กรความร่วมมือทางการเมืองและการทหารของประเทศค่ายเสรีประชาธิปไตย  ก่อตั้งเมื่อวันที่  4  เมษายน  ค.ศ. 1949  เกิดจากแนวคิดของ  เซอร์วินสตัน  เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีอังกฤษสมัยนั้น

จุดเริ่มต้น

            จากการลงนามในสนธิสัญญากรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดยมีเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักรนั้น ถือเป็นการเริ่มต้นขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ซึ่งสนธิสัญญานี้ และเหตุการณ์การปิดกั้นเบอร์ลินของโซเวียต ทำให้มีการก่อตั้งองค์กรป้องกันสหภาพยุโรปตะวันตก (WEU) ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2491 และด้วยการสนันสนุนอย่างดีจากพันธมิตรสำคัญคือสหรัฐอเมริกาที่ต้องการถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ทำให้พันธมิตรทางทหารที่ก่อตั้งขึ้นมาใหม่นี้เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้นอย่างรวดเร็ว          

วัตถุประสงค์ขององค์การ NATO

          NATO  ตั้งขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงร่วมกันในหมู่ประเทศสมาชิก  เนื่องจากการตื่นกลัวภัยคุกคามของคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียต  ภายหลังสงครามโลก  ครั้งที่  2  เป็นต้นมา  โดยยึดถือหลักการที่ว่า  "การโจมตีประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งประเทศใด  จะถือว่าเป็นการโจมตีประเทศสมาชิกทั้งหมด"
          
           ฐานะขององค์การ NATO ในปัจจุบัน

          จุดมุ่งหมายของ NATO เมื่อแรกก่อตั้ง  คือ การรวมกลุ่มพันธมิตรทางการทหารเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสหภาพโซเวียตในยุคของสงครามเย็น (The Cold War) นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่  2  เป็นต้นมา  แต่ในปัจจุบัน  ยุคของสงครามเย็นได้สินสุดลงแล้ว  เพราะการล่มสลายของสหภาพโซเวียต  และลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก  จึงทำให้บทบาทและความสำคัญขององค์การ NATO ทางด้านการทหารในปัจจุบันลดน้อยลง
        
          สำนักงานใหญ่ขององค์การ NATO
          สำนักงานใหญ่หรือที่ตั้งฐานทัพองค์การ  NATO  อยู่ที่กรุงบรัสเซลล์  ประเทศเบลเยียม
        
          ประเทศสมาชิก  องค์การ NATO
          ในปัจจุบันประเทศสมาชิกองค์การ NATO  มีจำนวน  19 ประเทศ  ได้แก่  สหรัฐอเมริกา  แคนาดา  เบลเยียม  นอร์เวย์  เนเธอร์แลนด์  ฝรั่งเศส  อิตาลี  เยอรมนี  กรีซ  ตุรกี  เดนมาร์ก  ลักเซมเบอร์ก  ไอซ์แลนด์  โปรตุเกส  อังกฤษ  สเปน  ฮังการี  เช็กและโปแลนด์


จัดทำโดย
นายพิชญะ    จินะกาศ   เลขที่ 11  ม.6/2
นางสาวเพชรรัตน์    เห็นถูก   เลขที่ 27  ม.6/2
นางสาวสมัชญา    ปินตา   เลขที่ 31   ม.6/2
นางสาวอาทิตยา   จิตตงกูร   เลขที่ 34   ม.6/2

แหล่งอ้างอิง:
http://pracob.blogspot.com/2011/08/13-1961.html
http://www.thaigoodview.com/node/19402
http://th.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาต่อต้านองค์การคอมมิวนิสต์สากล
http://th.wikipedia.org/wiki/กำแพงเบอร์ลิน
http://server.thaigoodview.com/node/19831
http://th.wikipedia.org/wiki/องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ
http://www.war-world.com/สนธิสัญญาวอร์ซอ/




จุณเจิม ยุวรี, เสาวณีย์ รอดเรืองศรี และเพ็ญจันทร์ กู้ประเสริฐ, 2542. เหตุการณ์โลกปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.







1 comment:

  1. Blog สวยจังเลยค่ะ ให้ความความรู้ดีด้วย

    ReplyDelete